Friday, February 21, 2014

การนำฟอนต์ CRU sarawut 57 มาใช้งานจริง

การนำฟอนต์ CRU sarawut 57 มาใช้งานจริง
โดยการนำมาใช้กับ motion infographic ที่เราสร้างขึ้นมา

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

มีการประกวดออกแบบฟอนต์ ดูข้อมูลได้ในกลุ่ม TFace
คำสั่งใน fontlab
contour - paths - expand path เป็นคำสั่งปรับขนากของเส้นและรูปร่างเส้น

คำสั่ง merge contours เป็นคำสั่งใช้รวมเส้นที่เราสร้างทับไว้ให้เป็นเชื่อมโยงกัน

คำสั่ง view - show layers - fill outline แสดงผลตัวอักษรที่เราสร้างเป็นสีดำและสีขาวโปร่ง เพื่อที่เราจะได้ดูโครงสร้างของงานที่เราทำ

*รายงานที่ทำ ต้องใช้ฟอนต์ของตัวเองพิมพ์

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

การวางวรรณยุกต์ใน fontlab จะมีขนาดความสูงที่แตกต่างกันออกไปเพื่อที่จะหลบตัวอักษรหรือวรรณยุกต์ที่ใช้พร้อมกัน
การตั้งค่าฟ้อนที่เราทำในโปรแกรม fontlab ต้องเข้าไปที่ file - font info
ในช่อง name and copyright คือการตั้งชื่อฟ้อนของเรา

ช่อง family name พยายามอย่าตั้งให้ซ้ำกับฟอนต์ที่มีอยู่แล้ว
ช่อง weight คือการตั้งขนาดตัวอักษรว่าหนาหรือบาง
stylename คือการตั้งลักษณะของฟ้อนที่เราสร้างขึ้นมา
copyright information คือข้อมูลของผู้สร้างหรือเจ้าของฟ้อนต์ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นชื่อเราได้

designer information คือที่อยู่เว็บของผู้สร้างฟอนต์

การส่งออกฟอนต์ที่เราสร้าง file-generate font ควรตั้งเป็นชื่อไฟล์ฟอนต์ที่เราสร้าง

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6

เรื่องงานกิ๊ฟ งานที่เราจะทำนั้นต้องมีมู๊ดบอร์ดรายบุคคล ขนาด A3 ต้องทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับฟอนต์
งานใหม่ให้ออกแบบ font display ก่อนเริ่มงานต้องสเก็ตฟอนต์ก่อน และให้กำหนดความสูงของฟอนต์ด้วย ดูตัวอย่างได้ในบล็อกของอาจารย์
ความหมายของคำสั่งต่างๆในโปรแกรม fontlab
convert to globle - ใช้สำหรับล็อคไกค์ไลน์ให้แสดงในทุกตัวอักษร
quick test as binary - ใช้เทสฟอนต์ที่เราสร้างขึ้นมาใน fontlab
generate font - คำสั่งเรนเดอร์ไฟล์เพื่อนำออกไปใช้งาน 

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม fontlab

การสร้างฟอนต์ fontlab ต้องทำเป็นรายงานวิธีทำด้วย
โดยโปรแกรม fontlab นั้น เราสามารถก๊อปปี้ไฟล์โครงตัวอักษรจากโปรแกรม Illustrator เข้ามาใช้ได้เลย ซึ่งเราต้องปรับขนาดให้เหมาะสมและปรับแต่งให้สวยงามอีกครั้งหนึ่ง
*เราสามารถดูวิธีสร้างฟอนต์ของอาจารย์ได้ในแชนแนลยูทูป

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

การตั้งชื่อกลุ่มทำงาน
-ให้แต่ละคนเสนอชื่อ
- ออกแบบตัวอักษรคนละรูปแบบ sans serif , serif ,displayfontstyle
- ให้ทำทั้งสองภาษาคือ ไทยและอังกฤษ
- งานโลโก้กลุ่มต้องมีสเกตดีไซน์
ให้นักศึกษาไปดราฟฟ้อนต์อะไรก็ได้ ต้องมีชื่อฟ้อนต์ที่เรานำมาเป็นต้นแบบด้วย โดยทำเป็นขนาด A3 แนวนอน มีเส้นกรอบด้านในกว้าง 1 ซม.
การตั้งชื่อเลเยอร์ในการทำงานชิ้นนี้
layer 1 ตั้งชื่อ form...name
layer 2 ตั้งชื่อ study font
layer 3 ตั้งชื่อ  font structure
โดยต้องดราฟทั้งฟ้อนไทยและอังกฤษ ตัวอย่างการทำอยู่ใน http://thaifont.info/